วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คณะผู้จัดทำ

คณะผู้จัดทำ


1.นางสาวเปนหญิง         ไทยบุรี              ม.6/6    เลขที่ 12
2.นางสาวพนิดา             เบญจไพบูลย์    ม.6/6     เลขที่ 15
3.นางสาวกัญญาณัฐ      มรรคาเขต          ม.6/6    เลขที่ 22
4.นางสาวปฏิณญา         แสงบำรุง           ม.6/6    เลขที่ 32
5.นางสาวอามานี            สุวรรณดี            ม.6/6     เลขที่ 34

ข้อสอบ'56

1.ถ้านายยอดผักไปซื้อก๋วยเตี๋ยวมาปรุงเป็นก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆขาย การผลิตดังกล่าวเรียกว่าเป็นการสร้างอรรถประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้านใด

1.การเปลี่ยนแปลงรูป
2.การเลื่อนเวลา
3.การให้บริการ
4.การเปลี่ยนสถานที่

ตอบ ก. การเปลี่ยนแปลงรูป
      การสร้างอรรถประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ในด้านการผลิตสามารถแบ่งประเภทของการผลิตได้ 5 ประเภท คือ
            - การแปรรูบหรือเปลี่ยนแปลงรูป (Form Utility) คือการเปลี่ยนรูปสินค้า เช่นการนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร นำผ้ามาทำเสื้อ
            - การเลื่อนเวลา (Time Utility) คือการถนอมอาหาร การหมัก การบ่ม เช่น ผลไม้กระป๋อง
            - การเปลี่ยนสถานที่ (Place Utility) คือการขนย้ายสินค้า การขนส่ง เช่น การกระจายสินค้าไปยังร้านค้าต่างๆ
            - การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ (Possession Utility) คือการเปลี่ยนผู้ถือครองจากผู้ผลิต ไปยังพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าขายส่ง พ่อค้าปลีก
            - การให้บริการ (Services Utility) คือผู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์จากการให้บริการ เช่น ครู ทนายความ แพทย์

2.ภาษีใดที่ประเทศไทยนำมาใช้เก็บเพื่อเป็นรายได้ให้กับประเทศอยู่ในปัจจุบัน

1.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
2.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.ภาษีสิ่งแวดล้อม
4.ภาษีมรดก

ตอบ ข. ภาษีเงินได้จากบุคคลธรรมดา
            ภาษีเป็นแหล่งรายได้หลักประเทศไทย ซึ่งมีหน่วยงานในการจัดเก็บภาษี 3 หน่วยงาน คือ
            - กรมสรรพากร จัดเก็บ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา , ภาษีเงินได้นิติบุคคล , ภาษีมูลค่าเพิ่ม , ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอากรแสตมป์
            - กรมสรรพสามิต จัดเก็บภาษีสรรพสามิต
            - กรมศุลกากร จัดเก็บภาษีศุลกากร

3.ข้อความใดต่อไปนี้ข้อใดที่เป็นไปตามกฎอุปทาน

1.ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายกับราคาสินค้าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายกับราคาสินค้าจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
3.ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอซื้อกับราคาสินค้าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอซื้อกับราคาสินค้าจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม

ตอบ ก.ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายกับราคาสินค้าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
            กฎของอุปทาน คือ ปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งแปรผันโดยตรงกับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้นเสมอ เช่นเมื่อราคาสินค้าปรับสูงขึ้น พ่อค้าก็อยากที่จะขายสินค้ามากขึ้น ถ้าราคาสินค้าต่ำลง พ่อค้าก็จะขายสินค้าน้อยลง

4.ในปัจจุบันมีปัจจัยข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าและบริการของหน่วยธุรกิจในทางเศรษฐศาสตร์

1.ปัจจัยทางด้านผลประโยชน์
2.ปัจจัยทางด้านคุณธรรม
3.ปัจจัยทางด้านการตลาด
4.ปัจจัยทางด้านความคุ้มค่า

ตอบ ข.ปัจจัยทางด้านคุณธรรม
            หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units) หมายถึงบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในระบบเศรษฐกิจ หน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญมี 3 หน่วย คือ
- หน่วยครัวเรือน ประกอบด้วยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ร่วมกัน เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- หน่วยธุรกิจ ประกอบด้วยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ตัดสินใจเลือกใช้ปัจจัยการผลิตมาผลิตสินค้าและบริการ
- หน่วยรัฐบาล เป็นหน่วยงานของรัฐ ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

5.การจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุล มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

1.เพื่อลดความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่งผลให้รายได้ประชาชาติลดลง
2.เพื่อลดความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่งผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
3.เพื่อเพิ่มความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่งผลให้รายได้ประชาชาติลดลง
4.เพื่อเพิ่มความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่งผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น

ตอบ  ง.เพื่อเพิ่มความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่งผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
   งบประมาณแผ่นดิน เป็นแผนการแสดงรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล  โดยสามารถแบ่งงบประมาณได้ 3 ลักษณะ  คือ
- งบประมาณสมดุล  คือ  รายได้และรายจ่ายของรัฐบาลเท่ากันพอดี
- งบประมาณขาดดุล  หรือการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว คือ นโยบายที่เพิ่มรายจ่ายและลดภาษี เพื่อเพิ่มความต้องการใช้จ่ายภายในระบบเศรษฐกิจ  เพื่อทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น  มักใช้ในกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำ กระตุ้นเศรษฐกิจ
- งบประมาณเกินดุล หรือการใช้นโยบายการคลังแบบหดตัว  คิอ  นโยบายที่ลดรายจ่ายและเพิ่มภาษี เพื่อลดความต้องการใช้จ่ายภายในเศรษฐกิจ  ทำให้รายได้ประชาชาติลดลง  มักใช้ในกรรีที่เศรษฐกิจขยายตัวมากเกินไป ใช้เพื่อชะลอภาวะเศรษฐกิจ

6.อัตราภาษีต่อไปนี้ชนิดใดจะช่วยลดปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ในกลุ่มประชาชนของประเทศ

1.อัตราภาษีก้าวหน้า
2.อัตราภาษีคงที่
3.อัตราภาษีถดถอย
4.อัตราภาษีลอยตัว

ตอบ ก.อัตราภาษีก้าวหน้า
อัตราภาษีก้าวหน้า  คือ การเก็บภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงขึ้นกับบุคคลที่มีรายได้มาก  อัตราภาษีแบบนี้ จะทำให้คนรวยจ่ายภาษีมากขึ้น  คนจนจ่ายภาษีน้อยลง ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
      อัตราภาษีคงที่  คือ การเก็บภาษีในอัตราที่เท่ากันไม่ว่าจะได้รายได้เท่าไร  เช่น  ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ห้างร้าน บริษัท)
      อัตราภาษีลดถอย  คือ การเก็บภาษีจากคนที่มีรายได้มากกว่าในอัตราที่ต่ำกว่า  เช่น  ภาษีบำรุงท้องที่  (ชาวนามีที่ดินมาก ก็เสียภาษีบำรุงท้องที่น้อย)

7.หนี้ในข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในกลุ่มของหนี้สาธารณะประเทศไทย

1.เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมของภาครัฐบาล
2.เป็นหนี้ที่ต้องชำระคืนประชาชน
3.เป็นหนี้ที่กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการสาธารณูปโภค
4.เป็นหนี้อันเกิดจากกองทุนฟื้นฟู

ตอบ  ง.เป็นหนี้อันเกิดจากกองทุนฟื้นฟู
หนี้สาธารณะ (Public Debt) คือ หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมของรัฐบาล  เพื่อนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค  การกู้ยืมเงินนี้จะเกิดขึ้นเมื่อฐานะการเงินของรัฐบาลเกิดการขาดดุล  มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ  และไม่สามารถจะหารายได้จากภาษีมาเพื่อใช้จ่ายได้พอ  ก็จะกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ 2 แหล่ง  คือ
- กู้ยืมจากภายในประเทศ  คือ การกู้ยืมจากประชาชน  และสถาบันทางการเงิน เช่น  การออกตั๋วเงินคลัง  พันธบัตรรัฐบาล
-กู้ยืมจากภายนอกประเทศ คือ การกู้ยืมเงินจาก เอกชนหรือรัฐบาลประเทศอื่น หรือ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
หนี้ที่เกิดจากกองทุนฟื้นฟู (กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน)  คือ  เงินกู้ที่นำมาแก้ไขภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย  พ.ศ. 2540 ซึ่งเงินกู้นี้เคยถือเป็นหนี้สาธารณะมาก่อน (พ.ศ. 2545-26  มกราคม 2555) ซึ่งในปัจจุบันหนี้ประเภทนี้ไม่จัดเป็นหนี้สาธารณะแล้ว

8.การกระทำต่อไปนี้ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มการผลิต

1.การนำพรรณไม้จากป่ามาขายในตลาด
2.การซื้อหุ้นไว้ขายเพื่อเก็งกำไร
3.การเก็บข้าวเปลือกไว้ขายเมื่อราคาสูง
4.การส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ

ตอบ ค.การเก็บข้าวเปลือกไว้ขายเมื่อราคาสูง
-การนำพรรณไม้มาขายในตลาด  คือ  การเปลี่ยนสถานที่
-การซื้อหุ้นไว้ขายกำไร คือ  การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์
-การเก็บข้าวเปลือกไว้ขายเมื่อราคาสูง  ไม่เข้ากับหลักของกลุ่มผลิต  เพราะการเปลี่ยนเวลา คือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ จากของที่มีอยู่เดิม เช่น  การหมัก การดอง
-การส่งสินค้าไม่จำหน่ายต่างประเทศ  คือ  การเปลี่ยนสถานที่

9. คำว่า “Invisible Hand” เกี่ยวข้องกับแนวคิดใดทางเศรษฐศาสตร์
    1. ราคาเงา
    2. กลไกราคา
    3. อัตราดอกเบี้ย
    4. ค่าจ้างแรงงาน

ตอบ 2 กลไกราคา
    invisible hand หรือ แปลเป็นภาษาไทยว่า มือที่มองไม่เห็น ซึ่ง อดัม สมิท นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่นำคำนี้มาใช้ในวงการเศรษฐศาสตร์ โดยปรากฏในหนังสือชื่อ The Wealth of Nation ในค.ศ.1776 ต่อมามีผู้ร่วมขยายความเกิดเป็นแนวคิดว่า เนื่องจากมนุษย์มีความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง หากมีเสรีภาพในการหาผลประโยชน์ส่วนตน มนุษย์ก็จะตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจด้วยเหตุด้วยผลเพื่อให้ตัวเองได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ซึ่งจะกลายเป็นผลประโยชน์แก่ส่วนรวมโดยไม่ตั้งใจ เสมือนมีมือที่มองไม่เห็นมาชักนำไป "มือที่มองไม่เห็น" นี้ หมายถึง พลังตลาดหรือกลไกตลาด

10. มาตรการตามข้อใดเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์มหภาค

    1. การลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อขยายการลงทุนในประเทศ
    2. การอุดหนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรชาวสวนยางพารา
    3. การตรึงราคาปูนซีเมนต์เพื่อไม่ให้ค่าก่อสร้างในประเทศสูงขึ้น
    4. การประกันราคาข้าวภายในประเทศเพื่อไม่ให้เดือดร้อน

ตอบ 1 การลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อขยายการลงทุนในประเทศ
         เพราะ ข้ออื่น ๆ ไม่ได้เป็นไปตามเรื่องของเศรษฐกิจมหภาค

11. ถ้าวิภาวีมีรายได้เพิ่มมากขึ้นแล้วซื้อขนมปังน้อยลง แสดงว่าขนมปังเป็นสินค้าชนิดใด
  
   1. สินค้าปกติ
   2. สินค้าจำเป็น
   3. สินค้าฟุ่มเฟือย
   4. สินค้าด้อยคุณภาพ

ตอบ 1 สินค้าปกติ
         เพราะถึงแม้รายได้จะเพิ่มแต่ความต้องการน้อยลง ไม่ได้เป็นเพราะราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นหรือปรับลดลง ดังนั้นขนมปังจึงเป็นสินค้าปกติ

12. การชุมชนเรียกร้องราคาผลผลิตของเกษตรกร สะท้อนความอ่อนแอในองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงด้านใดมากที่สุด

     1. ความมีเหตุมีผล
     2. ความพอประมาณ
     3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
     4. ความรู้และคุณธรรม

ตอบ 2 ความพอประมาณ
       เพราะ ตามองค์ประกอบเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ แต่ในการออกมาชุมชนเรียกร้องราคาผลผลิต นั้นเท่ากับว่าไม่มีความพอประมาณ
13. หนี้ในข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของหนี้สาธารณะประเทศไทย

    1. เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมของภาครัฐบาล
    2. เป็นหนี้ที่ต้องชำระคืนประชาชน
    3. เป็นหนี้ที่กู้มาเพื่อใช้ในกิจการสาธารณูปโภค
    4. เป็นหนี้อันเกิดจากกองทุนฟื้นฟู

ตอบ 4 เป็นหนี้อันเกิดจากกองทุนฟื้นฟู
        คือ เงินกู้ที่นำมาแก้ไขภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นเงินกู้นี้เคยถือเป็นหนี้สาธารณะมาก่อน (พ.ศ.2545 – 26 มกราคม 2555) ซึ่งในปัจจุบันหนี้ประเภทนี้ไม่จัดเป็นหนี้สาธารณะ

14. การกระทำต่อไปนี้ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มการผลิต
    1. การนำพรรณไม้จากป่ามาขายในตลาด
    2. การซื้อหุ้นไว้ขายเพื่อเก็งกำไร
    3. การเก็บข้าวเปลืองไว้ขายเมื่อราคาสูง
    4. การส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ

ตอบ 3 การเก็บข้าวเปลืองไว้ขายเมื่อราคาสูง
        ไม่เข้ากับหลักของกลุ่มการผลิต เพราะการเลื่อนเวลา คือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ จากของที่มีอยู่เดิม เช่น การหมัก การลดลง

15. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยในการเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาล

     1. ประเมินภาวะเศรษฐกิจ
     2. ประเมินภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
     3. จัดทำข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการของประเทศไทย
     4. เสนอข้อมูลการจัดเก็บภาษีรายได้นิติบุคคลไทยให้แก่คณะรัฐมนตรี

ตอบ 4 เสนอข้อมูลการจัดเก็บภาษีรายได้นิติบุคคลไทยให้แก่คณะรัฐมนตรี
         การจัดเก็บภาษี และการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังไม่ใช่ธนาคารแห่งประเทศ

16. เหตุการณ์ใดต่อไปนี้หากเกิดขึ้นโดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่จะส่งผลให้ราคายางพาราในประเทศไทยมีราคาสูงขึ้น

    1. ยอดการขายยางรถยนต์ในตลาดโลกชะลอลง
    2. รัฐบาลไทยมีนโยบายเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของการปลูกยางพารา
    3. มาเลเซียมีโยบายลดพื้นที่เพาะปลูกยางพาราเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น
    4. ราคาของน้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางสังเคราะห์มีแนวโน้มลดลง

ตอบ 3 มาเลเซียมีโยบายลดพื้นที่เพาะปลูกยางพาราเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น
       เมื่อมาเลเซียลดพื้นที่เพราะปลูก จะทำให้ปริมาณยางพาราในตลาดลดลง ซึ่งหากอุปสงค์ยังมีอยู่เท่าเดิมจะทำให้ปริมาณยางพารามีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผลคือราคาสูงขึ้นได้ (ของน้อย แต่ต้องการมาก เพิ่มราคาคนก็ยังต้องการอยู่)

 17. ปัจจัยใดต่อไปนี้จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยปรับตัวสูงขึ้น หากกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆไม่เปลี่ยนแปลง

    1. ภาครัฐเพิ่มงบประมาณเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย
    2. เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น
    3. ระดับการออมของเศรษฐกิจไทยเพิ่มสูงขึ้น
    4. อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินบาทแข็งค่าขึ้น
      1. ก และ ค                                          
      2. ข และ ค
      3. ข และ ง                                          
      4. ก และ ข

ตอบ 2 ข และ ค
     เพราะ ข เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว กำลังซื้อก็มากขึ้น ทำให้เพิ่มดุลการค้าได้ เทื่อเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าขยายตัว กำลังซื้อก็มากขึ้น เขาก็มาซื้อของเรามากขึ้น ค เพราะ ระดับการออมของเศรษฐกิจไทยเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนออมเงิน ทำให้มีการใช้จ่ายน้อยลง ซื้อของนอกลดลง ไปเที่ยวเมืองนอกลดลง ทำให้ได้เปรียบดุลการค้าและบริการมากขึ้น

18. อัตราภาษีต่อไปนี้ชนิดใดจะช่วยลดปัญหาความไม่เท่าเทียมประชาชนของประเทศ

     1. อัตราภาษีก้าวหน้า                                
     2. อัตราภาษีคงที่
     3. อัตราภาษีถดถอย                                  
     4. อัตราภาษีลอยตัว

ตอบ 1 อัตราภาษีก้าวหน้า
       คือ การเก็บภาษีเงินใต้ในอัตราที่สูงขึ้นกับบุคคลที่มีรายได้มาก อัตราภาษีแบบนี้ จะทำให้คนรวยจ่ายภาษีมากขึ้น คนจนจ่ายภาษีน้อยลง ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นงานและช่วยสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

19. ในปีที่ผ่านนายร่ำรวยบริโภคข้าว 1 จานและน้ำแร่ 2 ขวด โดยราคาในปีที่แล้วราคาข้าวและน้ำแร่ต่อหน่วยเป็น 30 และ 15 บาทตามลำดับ สำหรับปีนี้ราคาข้าวและน้ำแร่ต่อหน่วยเป็น 35 และ 20 บาทตามลำดับเขายังบริโภคจำนวนเท่าเดิม แต่ต้องจ่ายเงินมากกาว่าเดิม แสดงว่าอัตราเงินเฟ้อของปีนี้เท่ากับ

     1. ร้อยละ 20                                                 
     2. ร้อยละ 25
     3. ร้อยละ 30           
     4.ร้อยละ 35

    ตอบ 2. เพราะภาวะที่ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น หรือภาวะที่ค่าเงินที่แท้จริงลดลงซึ่งสามารถวัดได้ จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค 

20. การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไม่ครอบคลุมวิชาชีพใด

    1. นักวิจัย
    2. นักบัญชี
    3. สถาปนิก
    4. นักสำรวจ

       ตอบ 1 นักวิจัย
 เพราะ การเคลื่อนย้ายแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีใน 7 สาขาวิชาชีพ คือ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก นักสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี

 21.  ตามกฎของอุปสงค์ ถ้าราคาของมะม่วงชั้นดีในปีนี้ลดลงจากเดิมกิโลกรัมละ 50 บาท เหลือเพียงกิโลกรัมละ 30 บาท จะเกิดผลอย่างไร

       1.    อุปสงค์สูงขึ้น                                                          2.    อุปสงค์ลดลง
       3.    อุปทานสูงขึ้น                                                         4.    อุปทานลดลง

ตอบ 1.  เพราะ ตามกฎของอุปสงค์ ปริมาณซื้อสินค้าชนิดหนึ่งชนิดใดจะแปรผกผันหรือตรงกันข้ามกับราคาของสินค้าหรือบริการชนิดนั้น  นั่นคือ ถ้ามะม่วงมีราคาลดต่ำลง  ผู้บริโภคจะยินดีซื้อมะม่วงเพิ่มขึ้น (อุปสงค์สูงขึ้น)

 22.  ข้อใดเป็นความพอเพียงระดับบุคคล

       1.    สมาคมแม่บ้านการเกษตรเป็นสมาคมที่มีความมั่งคั่ง
       2.    กำนันสุกนำลูกบ้านในตำบลของตนผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
       3.    กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไยสามารถรวมกลุ่มกันทำผลิตภัณฑ์ลำไยออกสู่ตลาดจนมีรายได้ดี
       4.    แจ่มจันทร์และครอบครัวช่วยกันใช้จ่ายอย่างประหยัด จนมีเงินออมฝากธนาคารทุกเดือน

ตอบ 4  เพราะ  การปฏิบัติตนในการใช้จ่ายอย่างประหยัดของแจ่มจันทร์และครอบครัวจัดเป็นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว

23. กลไกราคาผลักดันให้ราคาสินค้าเปลี่ยนไปตามความต้องการของกลุ่มใด

      1. ผู้ผลิต
      2. รัฐบาล
      3. ผู้บริโภค
      4. ผู้ผลิตและผู้บริโภค

ตอบ 4 ผู้ผลิตและผู้บริโภค
        เพราะ กลไกราคาทำงานโดยได้รับอิทธิพลจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้าปริมาณความต้องการหรือปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดมีมากเกินกว่าปริมาณสินค้าผู้ผลิตจะยินดีขายให้ราคาสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนของสินค้าแต่ถ้าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตประสงค์จะขายให้ผู้บริโภคหรือปริมาณอุปทานของสินค้ามีมากกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคประสงค์จะซื้อราคาสินค้านั้นก็จะมีแนวโน้มลดต่ำลงเมื่อปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานเท่ากันราคาสินค้าจึงจะอยู่นิ่งหรือที่เรียกว่ามีเสถียรภาพไม่ปรับขั้นลงอีก ยกเว้นว่า จะมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไป

24. ตลาดสินค้าประเภทใดแทบไม่มีอยู่เลยในโลกแห่งความเป็นจริง

     1. ตลาดผูกขาด
     2. ตลาดผู้ขายมากราย
     3. ตลาดผู้ขายน้อยราย
     4. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

ตอบ 2 ตลาดผู้ขายมากราย
        เพราะ ตลาดผู้ขายมารายได้ไม่ค่อยได้พบ และไม่ค่อยเป็นที่นิยม

25.ข้อความใดต่อไปนี้เป็นข้อความที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด

            1.ภาษีเงินได้เป็นภาษีเงินอ้อม
            2.อัตราการหักค่าใช้จ่ายของภาษีเงินได้คิดเป็นร้อยละของเงินและจ่ายเพื่อการบริโภคลดลง
            3.การจัดเก็บภาษีเงินทำให้ประชาชนออมเงินและใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลดลง
            4.ผู้เสียภาษีเงินได้สามารถนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเครดิตภาษีตอนสิ้นปี

ตอบ 1 ภาษีเงินได้เป็นภาษีเงินอ้อม
         เพราะ ภาษีเงินได้ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคลที่มีรายได้จึงถือเป็นภาษีทางตรง

26.ประโยชน์สำคัญที่สุดของการเข้าใจหลัดเศรษฐศาสตร์คืออะไร

            1.สามารถใช้เงินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            2.สามารถใช้สิ่งที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            3.เป็นหลักในการตัดสินใจผลิตสินค้าและบริการ
            4.เป็นหลักในการกำหนดราคาสินค้าเพื่อแสวงหากำไร

ตอบ 2 สามารถใช้สิ่งที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
        เพราะ หลักเศรษฐศาสตร์ คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์

27.กลไกในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ

            1.กลไกทางการเงิน
            2.กลไกทางการค้า
            3.กลไกทางการเมือง

ตอบ 3 กลไกทางการเมือง
       เพราะ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม คือ ระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงระบบน้อยที่สุดโดยเอกชนเป็นเต้าของการลงทุน มีการแข่งขันอย่างเสรี และปล่อยให้ราคาขึ้นลงตามกลไกตลาดหรือกลไกรา หรือที่เรียกว่า มือที่มองเห็น

28.ข้อใดไม่จัดเข้าในกลุ่มของปริมาณเงิน (MONEY SUPPLY) ในระบบเศรษฐกิจ

            1.เครดิตการ์ด
            2.เช็คของธนาคารพาณิชย์
            3.เงินฝากของธนาคารพาณิชย์
            4.เงินคงคลังของรัฐบาล

ตอบ 4 เงินคงคลังของรัฐบาล
        เพราะ ปริมาณเงินหรืออุปทานของเงิน คือ จำนวนเงินที่คิดเป็นมูลค่าที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ธนบัตรและเหรียญในมือประชาชนและเงินฝากรายวันของประชาชน เงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากอื่นๆทีทฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ ตราสารหนี้

29.ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการลงทุนภาคเอกชนมากที่สุด

            1.ราคาผลผลิต
            2.อัตราดอกเบี้ย
            3.จำนวนประชากร
            4.การคาดการณ์ในอนาคต

ตอบ 1 ราคาผลผลิต
         เพราะ ราคาผลิต อัตราดอกเบี้ย จำนวนประชากร และการคาดการณ์ในอนาคต ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลการลงทุนภาคเอกชนทั้งสิ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ราคาผลผลิต เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนคือการลงทุนเพื่อแสวงหากำไร ภาคอกชนจึงสนใจที่ราคาขายว่าจะสามารถขายได้เท่าไหร่

30.เป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมระยะแรกของไทยคือใคร
            1.เพื่อสร้างงาน
            2.เพื่อฝึกทักษะ
            3.เพื่อรองรับตลาดแรงงาน
            4.เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ

ตอบ 4 เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ
         เพราะ การพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยเริ่มต้นตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่1 โดยการพัฒนาให้อุตสาหกรรมเป็นตัวนำในการพัฒนาเศรษฐกิจ ระยะแรกจะเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ พึ่งพาตนเองมากขึ้นต่อมาจึงเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกด้วย